วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

10 ขนมไทยโบราณที่หากินยากสุดๆ


                1.  ขนมพันตอง

                ขนมพันตอง แบ่งเป็น 2 ส่วน แยกเป็น 2 ห่อ ห่อแรก คือส่วนผสมของไส้ ประกอบด้วยมะพร้าวกับน้ำตาลปี๊บ แล้วนำมาปั้นเป็นก้อน อีกห่อประกอบด้วย หัวกะทิ แป้งข้าวเจ้า เกลือ น้ำตาล แล้วตักใส่ห่อ เพื่อความอร่อยยิ่งขึ้นควรจะรับประทานพร้อมกัน เพราะตัวแป้งและตัวไส้จะอร่อยกลมกล่อมอย่างลงตัว

                2.  ขนมลา

                ขนมลา เป็นขนมหวานพื้นบ้านของทางภาคใต้ ของประเทศไทย ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวเจ้า เป็นขนมสำคัญหนึ่งในห้าชนิดที่ใช้สำหรับจัดเพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ในงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีที่สำคัญของจังหวัดในภาคใต้ เช่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลาโดยอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ขนมลาปรุงขึ้นเพื่อเป็นเสมือนแพรพรรณเสื้อผ้า

                3.  ขนมเกสรชมพู่

                ขนมไทยโบราณ เมื่อได้มองครั้งแรกอาจจะคิดว่าขนมชนิดนี้คือ ข้าวเหนียวเเก้วแต่ถ้าพิศมองให้ดีจะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน เพราะมีลักษณะแข็งกระด้างของข้าวเหนียว ส่วนเกสรชมพู่จะดูนุ่มนวล อ่อนโยน ที่ทำจากมะพร้าวขูดขาว ผัดกับน้ำและน้ำตาลทราย ใส่วุ้นกวนให้เข้ากันใส่สีชมพูแก่ แล้วตักใส่ถ้วย 

                4.  ขนมโพรงเเสม

                ขนมชนิดนี้ใช้ในพิธีแต่งงาน โดยแทนเสาบ้านเสาเรือน เพื่อให้คู่บ่าวสาวอยู่กันยั่งยืนและร่ำรวย ลักษณะคล้ายๆขนมทองม้วน แต่ขนมชนิดนี้จะมีความแตกต่างอยู่ตรงที่มีน้ำตาลเคลือบพันร้อยอยู่ที่ตัวขนม เมื่อตัวขนมได้ถูกบดขยี้กับฟันและลิ้นที่สัมผัสรส จะให้ความรู้สึกกรุบกรอบน่ากัดกิน ผสมกับความหวานของน้ำตาลที่เคลือบขนมอย่างลงตัวไม่ที่ไม่หวานมากนัก ก็ยิ่งทำให้ขนมชนิดนี้เหมาะสำหรับการกินเล่น

                5.  ขนมตูโบ้

                ต้มบวดรวมมิตร อาหารหวานท้องถิ่นภูเก็ต ทำจากถั่วแดงเม็ดเล็ก มันเทศ เผือก และแป้งมันสำปะหลัง  ต้มรวมกันในน้ำกะทิเติมน้ำตาลและเกลือพอให้มีรสหวานนำและเค็มปะแล่ม จะทานร้อนๆหรือเติมน้ำแข็งก็ได้

                6.  ขนมเทียนเเก้ว

                ขนมเทียนแก้ว หรือ ขนมนมสาว เปรียบเสมือนแสงสว่าง ลักษณะที่สวยถูกต้อง ต้องปลายแหลม และฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส วางได้โดยไม่เสียรูปทรง ทำจากถั่วเขียวเลาะเปลือกนึ่งสุก กวนกับกะทิและน้ำตาลทราย  อบด้วยควันเทียน ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ นำแป้งถั่วเขียว หรือแป้งซ่าหริ่ม กวนกับน้ำตาลทราย และน้ำลอยดอกมะลิ

                7.  ขนมสามเกลอ

                เป็นขนมเสี่ยงทายในพิธีแต่งงาน ถ้าขนมยังติดกันทั้ง 3 ลูกในขณะที่ทอด หมายความว่า คู่บ่าวสาวที่จะแต่งงานจะอยู่ด้วยกันดี ตลอดจนมีลูกด้วยกัน แต่ติดกันอยู่เพียง 2 ลูก หมายความว่า มีลูกยากหรือไม่มี ถ้าแยกหรือหลุดออกทั้ง 3 ลูก หมายความว่า อยู่ด้วยกันไม่ยืดยาว

                8.  ขนมตะลุ่ม

                ตะลุ่ม มีสองส่วน คือส่วนตัวขนม ทำแป้งข้าวเจ้า แป้งเท้ายายม่อม แป้งมันสำปะหลัง น้ำปูนใส และหางกะทิ นำไปนึ่งจนสุก ส่วนของตัวหน้า ได้แก่  หัวกะทิ ไข่ และน้ำตาล ใส่แป้งข้าวเจ้าเล็กน้อย แล้วเทลงบนตัวที่สุกแล้วนำไปนึ่ง เวลาเสิร์ฟตัดเป็นสี่เหลี่ยมขนาดพอดีคำหรือลักษณะตามชอบ


                9.  ขนมหม้อตาล

                เป็นขนมโบราณ ที่ใช้ในพิธีแต่งงาน เรียกว่า หม้อเงิน หม้อทองตัวถ้วยขนม ผสมแป้งสาลี น้ำเย็น ไข่แดง กรุแป้งในพิมพ์หม้อตาล อบให้สุก ไส้ ผสมน้ำตาลทรายกับน้ำเคี่ยวให้ข้น ตักใส่ถ้วย หยดสีตามต้องการ หยอดลงในพิมพ์ ให้น้ำตาลแห้ง  

                10.  ขนมบุหลันดั้นเมฆ

                ลักษณะของขนมจะคล้ายขนมน้ำดอกไม้ เป็นขนมชาววังคิดประดิษฐ์ขึ้น ให้มีสีสันอุปมาอุปไมยเลียนแบบเพลงไทยบุหลันลอยเลื่อนซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มี 2 ส่วน คือ ส่วนตัวขนม ทำจากแป้งข้าวเจ้า แป้งมัน น้ำดอกอัญชัน น้ำตาลทราย หยอดลงบนถ้วยตะไล เมื่อนำไปนึ่งตรงกลางจะบุ๋มลงไป ส่วนตัวหน้าขนม ประกอบด้วย ไข่ กะทิ น้ำตาล มะพร้าว และนำไปนึ่งต่อจนสุก เมื่อรับประทานจะให้ความรู้สึกถึงความหอมหวานของน้ำดอกอัญชันกับกลิ่นน้ำตาลมะพร้าว



แหล่งที่มี :  http://www.dek-d.com/board/view/3178102/

ไม่มีความคิดเห็น: